|
|
|
ความเป็นมาของโครงการ |
กรมทางหลวงได้จัดทำแผนพัฒนาทางหลวง โดยกำหนดตามทิศทางของการพัฒนาระบบคมนาคมและขนส่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติแต่ละฉบับมาตามลำดับงานที่ดำเนินการจะครอบคลุมถึงโครงการใหม่ซึ่งเป็นงบลงทุนก่อสร้าง และบูรณะทางหลวงทั่วประเทศ อาทิ งานก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง งานก่อสร้างเพิ่มมาตรฐานทางหลวงให้เป็น 4 ช่องจราจร หรือมากกว่า งานบูรณะและปรับปรุงทางลาดยางเดิม งานก่อสร้างเป็นทางลาดยาง มาตรฐานงานก่อสร้างทางแนวใหม่ งานก่อสร้างทางแยกต่างระดับและสะพานลอย ตลอดจนงานอำนวยความปลอดภัย เป็นภารกิจหลักที่กรมทางหลวงมุ่งที่จะพัฒนาให้สมบูรณ์ ในการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนงานดังกล่าว กรมทางหลวงจะต้องจัดเตรียมโครงการให้เป็นไปตามแผนงาน โดยเฉพาะงานสำรวจและออกแบบซึ่งในปีงบประมาณนี้มีโครงการก่อสร้างเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้การเตรียมโครงการเป็นไปตามแผนงาน และเพื่อเป็นการส่งเสริมกิจการของที่ปรึกษาไทยตามนโยบายรัฐบาล กรมทางหลวงจึงแบ่งงานส่วนหนึ่ง เพื่อว่าจ้างบริษัทวิศวกรที่ปรึกษาช่วยในการสำรวจและออกแบบและแก้ไขปัญหาการจราจร ซึ่งจะช่วยให้งานดังกล่าวเป็นไปตามแผน
บนทางหลวงหมายเลข 4085 ตอน ปากน้ำเทพา ธารคีรี ตั้งอยู่ทางหลวงหมายเลข 4085 ตอน ปากน้ำเทพา - ธารคีรี เป็นเส้นทางหลักที่ใช้เดินทางระหว่าง จังหวัดสงขลา จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ในปัจจุบันทางหลวงหมายเลข 4085 ตอน ปากน้ำเทพา ธารคีรี เกิดปัญหาการติดขัดของการจราจรโดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน เนื่องจากบางช่วงของโครงการมีชุมชนหนาแน่น มีสถานที่สำคัญ ทั้งพื้นที่ธุรกิจ และแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ทำให้เกิดความไม่สะดวก และความล่าช้าในการเดินทาง อีกทั้งทางหลวงสายนี้ยังมีข้อจำกัดทางด้านพื้นที่ในการขยายถนน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการสำรวจและออกแบบปรับปรุงแก้ไขปัญหาการจราจรบนทางหลวงหมายเลข 4085 ตอนปากน้ำเทพา-ธารคีรี และโครงข่ายทางหลวงใกล้เคียงทำให้สามารถเดินทางได้สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยมากขึ้น จากการตรวจสอบพื้นที่โครงการเบื้องต้น พบว่า พื้นที่โครงการอยู่ในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่า จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาปะช้าง-แหลมขาม จึงเข้าข่ายต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ตามท้ายประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำรายการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 ประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 141 ตอนพิเศษ 4 ง วันที่ 5 มกราคม 2567 ดังนั้น กรมทางหลวง จึงได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัท ที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท ซีวิลดีไซน์แอน์คอนซัลแต้นส์ จำกัด ร่วมกับ บริษัท แคนดู ทูเกตเตอร์ จำกัด และบริษัท ธารา ไลน์ จำกัด ให้ดำเนินการสำรวจและออกแบบปรับปรุงและแก้ไขปัญหาการจราจร บนทางหลวงหมายเลข 4085 ตอน ปากน้ำเทพา ธารคีรี รวมถึงจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ของโครงการ เพื่อให้สอดคล้องกับประกาศข้างต้น และเพื่อให้การพัฒนาโครงการก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งประชาชนที่อยู่บริเวณพื้นที่โครงการน้อยที่สุด
การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อการพัฒนาโครงการ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาและการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยการรับฟังความคิดเห็นเป็นกระบวนการซึ่งประชาชนหรือผู้มีส่วนได้เสีย ได้มีโอกาสแสดงทัศนะ ความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ยอมรับร่วมกันต่อการพัฒนาโครงการ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและการรับรู้ร่วมกัน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีความเข้าใจในโครงการ และลดการต่อต้านโครงการ รวมทั้งเพื่อให้ประชาชนรับทราบข้อมูลของโครงการอย่างถูกต้องและทั่วถึง เปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะเพื่อนำมาใช้ประกอบการศึกษาของโครงการ ให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนจะสร้างข้อตกลงและความเข้าใจระหว่างกลุ่มต่างๆ ลดข้อโต้แย้งและช่วยให้เกิดความชอบธรรมต่อการตัดสินใจของโครงการ
|
วัตถุประสงค์ของโครงการ |
1.
|
เพื่อสำรวจและออกแบบรายละเอียดทางด้านวิศวกรรมให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม สำหรับโครงการจ้างวิศวกรที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบ ปรับปรุงและแก้ปัญหาการจราจรบนทางหลวงหมายเลข 4085 ตอน ปากน้ำเทพา ธารคีรี
|
2. |
เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรที่หนาแน่น และติดขัด ลดอุบัติเหตุ พร้อมทั้งอำนวยความสะดวก และความปลอดภัยในการสัญจร |
|
|
ระยะเวลาดำเนินงาน |
|
|
|
พื้นที่ศึกษา / พื้นที่เป้าหมาย |
แบ่งพื้นที่ศึกษาของโครงการออกเป็น 2 ช่วง ประกอบด้วย
ช่วงที่ 1 บริเวณ กม. 0+921 ถึง กม. 3+000 จุดตัดทางหลวงหมายเลข 4085 กับ ทางหลวงหมายเลข 43 (แยกพระพุทธ)
ช่วงที่ 2 บริเวณ กม. 6+722 ถึง กม.8+468 จุดตัดทางหลวงหมายเลข 4085 กับ ถนนเข้าที่ว่าการอำเภอเทพา
ระยะทางรวมประมาณ 3.825 กิโลเมตร |
|
แผนที่แสดงพื้นที่ศึกษาโครงการเบื้องต้น |
|
กลุ่มเป้าหมายระดับพื้นที่ในการดำเนินงานการมีส่วนร่วมของประชาชน |
จังหวัด |
อำเภอ |
ตำบล |
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
ชุมชน/หมู่บ้าน |
ช่วงที่ 1 |
สงขลา |
เทพา |
เทพา |
*องค์การบริหารส่วนตำบลเทพา |
หมู่ที่ 2 บ้านพระพุทธ |
หมู่ที่ 4 บ้านท่าดี |
หมู่ที่ 7 บ้านปากบางเทพา |
ปากบาง |
องค์การบริหารส่วนตำบลปากบาง |
หมู่ที่ 4 บ้านคลองประดู่ |
1 จังหวัด |
1 อำเภอ |
2 ตำบล |
2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
4 หมู่บ้าน |
|
|
จังหวัด |
อำเภอ |
ตำบล |
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
ชุมชน/หมู่บ้าน |
ช่วงที่ 2 |
สงขลา |
เทพา |
เทพา |
เทศบาลตำบลเทพา |
ชุมชนทุ่งพร้าว |
ชุมชนมุสลิม |
ชุมชนประธานสุขา |
ชุมชนพัฒนาชุมชน |
ชุมชนเกษตรขันธ์ |
ชุมชนท่าเรือ |
*องค์การบริหารส่วนตำบลเทพา |
หมู่ที่ 1 บ้านท่าพรุ |
หมู่ที่ 3 บ้านพรุหมาก |
หมู่ที่ 5 บ้านทุ่ง |
1 จังหวัด |
1 อำเภอ |
2 ตำบล |
2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
6 ชุมชน 3 หมู่บ้าน |
หมายเหตุ *องค์การบริหารส่วนตำบลเทพา ครอบคลุมบางส่วนของพื้นที่เป้าหมาย ทั้งช่วงที่ 1 และช่วงที่ 2 |
ขอบเขตการศึกษาโครงการ |
1.การดำเนินงานด้านวิศวกรรม |
|
งานด้านการขนส่งและจราจร |
|
- งานศึกษาคัดเลือกแนวเส้นทางโครงการและรูปแบบการพัฒนา
- งานวิเคราะห์โครงการด้านเศรษฐกิจ
- งานสำรวจและคาดการณ์ปริมาณจราจร และวิเคราะห์ระดับการให้บริการ
|
งานด้านวิศวกรรม |
|
- งานสำรวจแนวทางและระดับ
- งานสำรวจตรวจสอบดินและวัสดุ
- งานออกแบบรายละเอียดงานทาง
- งานออกแบบรายละเอียดทางแยก
- งานออกแบบโครงสร้างชั้นทาง งานฐานราก วิเคราะห์เสถียรภาพและการทรุดตัวของคันทาง
- งานออกแบบโครงสร้างสะพาน โครงสร้างทางแยกต่างระดับ อาคารระบายน้ำและโครงสร้างอื่น ๆ
- งานระบบระบายน้ำ
- งานระบบไฟฟ้า
- งานสถาปัตยกรรม
- งานดำเนินการด้านสิ่งสาธารณูปโภค
|
งานด้านการประมาณราคาและการจัดกรรมสิทธิ์ |
|
- งานคำนวณปริมาณงานก่อสร้างและประมาณราคา
- งานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
- งานวิเคราะห์แผนการดำเนินการโครงการ
|
|
2.การดำเนินงานด้านเศรษฐกิจและสังคม |
|
|
- ข้อมูลด้านเศรษฐกิจและสังคมของพื้นที่ที่จะทำการศึกษา
- แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงอื่นที่จะมีผลต่อการจราจรในอนาคต
|
|
3.การดำเนินงานด้านเศรษฐกิจและสังคม |
|
|
- การให้ข้อมูลข่าวสาร การประชาสัมพันธ์โครงการ และให้ประชาชนมีส่วนร่วมตลอดระยะเวลาโครงการ
- การพบปะหารือและรับฟังความคิดเห็นของผู้นำชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- การจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
การประชาสัมพันธ์โครงการ
พร้อมการหารือหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้อง ตลอดระยะเวลา ดำเนินการ |
- การประชุมปฐมนิเทศโครงการ |
- การประชุมเสนอแนวคิดในการกำหนดรูปแบบทางเลือก
การพัฒนาโครงการเบื้องต้น |
- การประชุมสรุปผลการคัดเลือกรูปแบบการพัฒนาโครงการ |
- การประชุมเพื่อหารือมาตรการป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม |
- การประชุมสรุปผลการศึกษาโครงการ |
|
|
4.การดำเนินงานด้านเศรษฐกิจและสังคม |
|
การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) |
|
- ทบทวนและศึกษาจากรายงานที่เกี่ยวข้อง
- ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น เพื่อนำไปศึกษาต่อในขั้น EIA
- สรุปประเด็นสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ
|
การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมขั้นรายละเอียด (EIA) |
|
- ศึกษารายละเอียดรูปแบบโครงการ
- รวบรวมข้อมูลทุติยภูมิและสำรวจข้อมูลสภาพแวดล้อมปัจจุบันในภาคสนาม
- ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม จากการพัฒนาโครงการ
- กำหนดมาตรการป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม / มาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม
|
|
|